วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อุบลราชธานี ปี60 : วัดภูเขาแก้ว

ประเภท ► วัด
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล พิบูล อำเภอ พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี

วีดีโอ



ภาพ



วัดภูเขาแก้ว
อยู่บนเนินเขา ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง เป็นรูปแบบศิลปะไทยหลังคาเป็นโครงสร้างไม่มีมุขลดหลั่นกันสี่ชั้นด้านหน้าและด้านหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ โดยมีคันทวยรองรับชายคาเป็นรูปนาคโดยรอบ ส่วนบริเวณกลางหลังคาตกแต่งเป็นยอดปราสาททอง หน้าบันจำหลักปูนปั้นลายก้านขดงดงามอ่อนช้อยกลมกลืนกับบัวเสาที่ทำตามแบบศิลปะอินเดีย ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทยพร้อมทั้งเล่าเรื่องราวประวัติของพระธาตุแต่ละองค์โดยสังเขป นอกจากนี้บริเวณชั้นล่างของพระอุโบสถยังใช้เป็นศาลาการเปรียญอีกด้วย
ปีพ.ศ. 2502-2505 วัดภูเขาแก้ว ได้เกิดพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งวัดขึ้น โดนเอกชนจะผนวกเอาที่ดินวัดบางส่วนนั้นไปขาย เพราะถือว่าวัดไม่ได้แจ้งกรรมสิทธิ์ ครอบครอง คือไม่มีใบ สค.1
และนส.3 ปี พ.ศ.2506 พระเพชร์ สุภโร เจ้าอาวาสได้ถึงมรณภาพ พระครูพิบูลสมณกิจ เจ้าคณะอำเภอธรรมยุตได้รักษาการแทน  และได้ดำเนินการขอโฉนดที่ดินวัด  ในปี พ.ศ.2514 สำนักงานที่ดินจังหวัดได้ออกโฉนดให้เป็นที่เรียบร้อย
ข้อมูลทั่วไป
อยู่บนเนินเขาในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ตามทางหลวงหมายเลข 217 ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กม. ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กม. ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วย ภาพนูนสูงอยู่เหนือ บานประตูและ หน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย
พระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องทั้งหลัง ความงามของอุโบสถ ได้ถูกถ่ายทอดจากฝีมือของช่างพื้นบ้าน โดยการออกแบบของเจ้าอาวาส
วัดภูเขาแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2480 วันที่ 3  ธันวาคม พ.ศ.2516 เวลา 22.15 น. ศาลาการเปรียญที่พระอาจารย์ดี ฉนโน ได้ก่อสร้างด้วยไม้ตะเคียน 2 ชั้น "ได้ถูกวางเพลิงมอดไหม้" เป็นเหตุให้มีการสร้างอุโบสถศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นแทน  สำหรับให้พระสงฆ์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน
พระอุโบสถ ที่ทำหลังคาเป็นโครงสร้างไม่มีมุข ลดหลั่นกันสี่ชั้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ โดยมีคันทวยรองรับชายคา เป็นรูปนาคอยู่โดยรอบ
ส่วนบริเวณกลางหลังคา ตกแต่งเป็นยอดปราสาททอง หน้าบันจำหลักลายปูนปั้นลายก้านขดที่ยังคงความอ่อนช้อย และเข้ากันได้ดีกับบัวเสาที่ทำตามศิลปะอินเดีย ในขณะที่ส่วนล่างของบัว
หัวเสาลงมาตกแต่งแบบศิลปะขอมนอกจากนี้ บริเวณชั้นล่างของพระอุโบสถ ยังใช้เป็นศาลาการเปรียญ และนั่งปฏิบัติธรรม โดยรอบอาคารชั้นล่างจัดทำเป็นโต๊ะตั้งเครื่องปั้นดินเผา
และภายในวัดภูเขาแก้ว ยังมีการจัดต้นไม้ ดอกไม้อย่างสวย และยังมีแพ สำหรับให้นักท่องเที่ยว หรือลูกศิษย์ที่มีจิตศรัทธา ได้ทำบุญโดยการ ให้อาหารปลา อยู่กลางสระน้ำสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าชื่นชม น่าเก็บภาพสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากบรรยากาศภายในวัดร่มรื่น สะดวกสะบาย มีห้องน้ำสะอาด และยังมีร่มไม้ให้นั่งพักผ่อน ตามสะดวก
ฤดูกาลท่องเที่ยว    เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
การเดินทาง   
ถ้าเดินทางโดยรถยนย์   วัดภูเขาแก้วตั้งอยู่อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร ประมาณ 1 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217ถ้าเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง  จากตัวเมืองอุบลฯ ก็ขึ้นรถประจำทาง สาย พิบูลมังสาหาร-อุบลราชธานี ที่ บขส.อุบลราชธานีได้เลย ก่อนถึงตัวอำเภอ ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางด้านฝั่งซ้ายมือ 
สถานที่ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม    วัดภูเขาแก้ว ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  34110

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สุรินทร์ ปี60 : ปราสาทยายเหงา

ประเภท ► ปราสาท
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล บ้านชบ อำเภอ สังขะ สุรินทร์ 

วีดีโอ


รูป


ปราสาทยายเหงา ตั้ง อยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ-บัวเชด) ตรงต่อไปจนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลังปราสาทภูมิโปน คงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนา ฮินดูไศวนิกายเช่นเดียวกับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเครรพ ในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับ พื้นห้อง

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

สุรินทร์ ปี60 : ปราสาทตามอญ

ประเภท ► ปราสาท
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล บัวเชด อำเภอ บัวเชด สุรินทร์

วีดีโอ


รูป

ปราสาทตามอญ
           ตั้งอยู่ในบ้านปราสาท หมู่ที่ 3 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จากคำบอกเล่าได้ความว่าผู้ก่อสร้างปราสาทคือ ตามอญหรือตามอย โดยสร้างเพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานสิ่งเคารพบูชาตามความเชื่อทางศาสนา และอีกความเชื่อหนึ่งซึ่งเป็นที่มาของปราสาทตามอญ เชื่อว่าในสมัยที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว ได้ยกทัพผ่านมาในบริเวณนี้และได้กวาดต้อนเอาผู้คนชาวลาวมาด้วย และในเวลาดังกล่าวมีข้าราชการชั้นเชื้อพระวงศ์ของลาวที่ถูกกวาดต้อนมาเกิดเจ็บป่วยและเสียชีวิต จึงได้มีการก่อสร้างปราสาทเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์ปราสาทมีลักษณะแบบลาวผสมอยู่
         ข้อมูลทั่วไปขององค์ปราสาทเป็นปราสาทที่มีลักษณะเป็นปรางค์ก่ออิฐองค์เดียว ทรงสี่เหลี่ยม มีขนาด 2.65 เมตร ผนังทึบ มีประตูทางด้านเดียว คือทางทิศตะวันออก ซุ้มประตูสลักลาย หลังคาคงเหลือเพียงสามซุ้ม แต่เดิมตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐและมีบันไดด้านหน้าเป็นศิลาแลง แต่ปัจจุบันบริเวณบันไดมีดินกลบทับ จากข้อสันนิษฐานของหน่วยงานด้านโบราณคดี คือกรมศิลปากร ที่ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทแห่งนี้เป็นโบราณสถานให้ความเห็นว่า องค์ปราสาทได้รับการก่อสร้างในช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์
        ปัจจุบัน เทศบาลตำบลบัวเชดได้จัดงบประมาณในการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ และจัดกิจกรรมงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรมปราสาทตามอญขึ้นประจำต่อเนื่องในทุกปี (ประมาณเดือนเมษายน ของทุกปี)
ที่ตั้ง
        บ้านปราสาท หมู่ที่ 3 ตำบลบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
การเดินทาง
       ระยะทางจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 65 กิโลเมตร

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สุรินทร์ ปี60 : ปราสาทภูมิโปน

ประเภท ► ปราสาท
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล ดม อำเภอ สังขะ สุรินทร์ 

วีดีโอ



รูป



ปราสาทภูมิโปน

ที่ตั้ง

บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์

การเดินทาง

จากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สุรินทร์ - สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะ เข้าทางหลวง หมายเลข 2124 (สังขะ - บัวเชด) ตรงต่อไป จนถึง ชุมชนบ้านภูมิโปน ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาท ตั้งอยู่ริมถนน ด้านซ้ายมือ

ลักษณะปราสาท

ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์
แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

ตำนานปราสาทภูมิโปน

ตำนาน เนียง ด็อฮ ทม ราชธิดาขอมผู้ปกครองเมืองภูมิโปนองค์สุดท้าย เป็นตำนานของปราสาทภูมิโปน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ มีเรื่องเล่าว่า ที่สระลำเจียก ห่างจากตัวปราสาทไปทางทิศตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีกลุ่มต้นลำเจียกขึ้นเป็นพุ่มๆ ต้นลำเจียกที่สระน้ำแห่งนี้ไม่เคยมีดอกเลย ในขณะที่ต้นอื่นๆนอกสระต่างก็มีดอกปกติ ความผิดปกติของต้นลำเจียกที่สระลำเจียกหน้าปราสาทจึงเป็นที่มาของตำนานปราสาทภูมิโปน การสร้างเมืองและการลี้ภัยของราชธิดาขอม
กษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่าใหญ่ชื่อว่าปราสาทภูมิโปน ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบ มีข้าศึกมาประชิดเมือง กษัตริย์ขอมจึงส่งพระราชธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิโปน พระราชธิดานั้นมีพระนามว่า พระนางศรีจันทร์หรือ เนียง ด็อฮ ทม แต่คนทั่วไปมักเรียกนางว่า พระนางนมใหญ่
กล่าวถึงเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งได้ส่งพรานป่าเจ็ดคน พร้อมเสบียงกรังและช้าง 1 เชือก ออกล่าจับสัตว์ป่าเพื่อจะนำมาเลี้ยงในอุทยานของพระองค์ พรานป่ารอนแรมจนมาหยุดพักตั้งห้างล่าสัตว์อยู่ที่ ตระเบีย็ง เปรียน แปลว่าหนองน้ำของนายพราน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านตาพรม ในปัจจุบันในที่สุดกลุ่มพรานสามในเจ็ดคน ก็ดั้นด้นจนไปพบปราสาทภูมิโปน และไปได้ยินกิตติศัพท์ความงามของพระนางศรีจันทร์เข้า พรานทั้งเจ็ดจึงได้ปลักลอบแอบดูพระนางศรีจันทร์สรงน้ำ และเห็นว่านางมีความงามสมคำร่ำลือจริง จึงรีบเดินทางกลับเพื่อไปรายงานพระราชา พระราชายินดีปรีดามาก รีบจัดเตรียมกองทัพเพื่อไปรับนางมาเป็นพระชายาคู่บารมี
ฝ่ายพระนางศรีจันทร์หลังจากวันที่ไปสรงน้ำก็เกิดลางสังหรณ์ กระสับกระส่ายว่ามีคนมาพบที่ซ่อนของนางแล้ว เมื่อบรรทมก็ฝันว่าได้ทำกระทงเสี่ยงทาย ใส่เส้นผมเจ็ดเส้น อันมีกลิ่นหอมและเขียนสาส์นใจความว่าใครเก็บกระทงของนางได้ นางจะยอมเป็นคู่ครอง ในกระทงยังให้ช่างเขียนรูปของนางใส่ลงไปด้วย เมื่อตื่นขึ้นมานางจึงได้จัดการทำตามความฝัน(ด้วยการที่นางเอาผมใส่ในผอบเครื่องหอม ผมนางจึงหอม นางจึงได้ชื่อว่า เนียง ช็อก กระโอบ หรือนางผมหอมอีกชื่อหนึ่ง) และนำกระทงไปลอย ณ สระลำเจียกหน้าปราสาท กระทงของนางได้ลอยไปยังอีกเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองโฮลมาน และราชโอรสของเมืองนี้ได้เก็บกระทงของนางได้ ทันทีที่เจ้าชายเปิดผอบก็หลงรักนางทันที เจ้าชายโอลมานนั้นมีรูปร่างไม่หล่อเหลา แต่มีฤทธานุภาพมากในเรื่องเวทมนตร์คาถาและได้ชื่อว่ารักษาคำสัตย์เป็นที่ตั้ง พระองค์จึงไปสู่ขอนางตามประเพณีเพราะเป็นผู้เก็บผอบได้ แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร เมื่อพระนางศรีจันทร์ได้เห็นรูปร่างของเจ้าชายโฮลมานนางจึงได้แต่นิ่งอึ้งและร้องไห้ เจ้าชายโฮลมานทรงเข้าพระทัยดีเพราะรู้ตัวว่าตัวเองมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่ด้วยความรักที่พระองค์มีต่อพระนางศรีจันทร์ พระองค์จึงไม่บังคับที่จะเอาตัวนางมาเป็นชายา กลับช่วยพระนางขุดสระสร้างกำแพงเมือง และสร้างกลองชัยเอาไว้ เพื่อให้พระนางตียามมีเหตุเดือดร้อนต้องการให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์จะมาช่วยเหลือนางโดยทันที โดยห้ามตีด้วยเหตุไม่จำเป็นเป็นอันขาด
กล่าวถึงชายหนุ่มอีกคนหนึ่งที่มาหลงรักพระนางศรีจันทร์ นั่นคือบุญจันทร์นายทหารคนสนิท ที่พระราชบิดาของพระนางศรีจันทร์ไว้วางพระราชหฤทัย ให้รับใช้ใกล้ชิดพระนางศรีจันทร์ ด้วยความใกล้ชิดทำให้บุญจันทร์หลงรักพระนางศรีจันทร์ แต่พระนางศรีจันทร์ก็ไม่ได้มีใจตอบกับบุญจันทร์ ยังคงคิดกับบุญจันทร์แค่เพื่อนสนิทเท่านั้น วันหนึ่งบุญจันทร์ได้เห็นกลองชัยที่เจ้าชายโฮลมานให้พระนางไว้ ก็นึกอยากตี จึงไปร่ำร้องกับพระนางทุกเช้าเย็น อยากจะขอลองตีกลอง พระนางทนไม่ไหวพูดประชดทำนองว่า ถ้าอยากตีก็ตีไป เพราะคงจะไม่ได้พบกันอีกแล้ว บุญจันทร์หน้ามืดตามัวด้วยคิดว่านางมีใจให้เจ้าชายโฮลมาน ก็ไปตีกลอง เจ้าชายโฮลมานและไพร่พลก็ปรากฏตัวขึ้นทันที เพราะนึกว่าพระนางศรีจันทร์มีเหตุร้าย พระนางศรีจันทร์เสียใจมาก เมื่อต้องบอกถึงเหตุผลที่ตีกลองให้เจ้าชายทราบ เจ้าชายโฮลมานตำหนิพระนาง และเป็นอันสิ้นสุดสัญญาที่ให้ไว้กับพระนางทันที พระองค์จะไม่มาช่วยเหลือพระนางอีกแล้วแม้จะตีกลองเท่าไหร่ก็ตาม
กล่าวฝ่ายพระราชาที่ส่งพรานป่าเจ็ดคน มาล่าสัตว์แล้วมาพบพระนางในตอนแรกนั้น ก็ส่งทัพมาล้อมเมืองภูมิโปนไว้ พระนางจึงหนีเข้าไปหลบภัยในปราสาทและคิดที่จะยอมตายเสียดีกว่า เพราะคนที่มาหลงรักพระนางแต่ละคนนั้น คนหนึ่งแม้จะเพียบพร้อมก็มีความอัปลักษณ์ คนหนึ่งก็มีความต่างศักดิ์ ด้านชนชั้นจนไม่อาจจะรักกันได้ และยังมีข้าศึกมาประชิดเมืองหมายจะเอาพระนางไปเป็นชายาอีก พระนางจึงพยายามหลบไปด้านที่มีการยิงปืนใหญ่ ตั้งใจจะโดนกระสุนให้ตาย แต่พระนางก็กลับไม่ตายแต่ได้รับบาดเจ็บ แขนซ้ายหักและมีแผลเหนือราวนมด้านซ้ายเล็กน้อย(ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านดม-ภูมิโปนจะสังเกตเด็กผู้หญิงคนใดมีลักษณะแขนด้านซ้ายเหมือนเคยหัก และมีแผลเป็นเหนือราวนมด้านซ้าย จะสันนิษฐานว่าพระนางด็อฮ ทม กลับชาติมาเกิด) เมื่อพระราชาตีเข้าเมืองได้จึงรีบรักษานาง ไม่ช้าพระนางก็หาย พระราชาจึงเตรียมยกทัพกลับและจะนำพระนางกลับเมืองด้วย พระนางจึงขออนุญาตพระราชาเป็นครั้งสุดท้ายขอไปอาบน้ำที่สระลำเจียก และปลูกต้นลำเจียกไว้กอหนึ่ง พร้อมกับอธิษฐานว่าถ้าพระนางยังไม่กลับมาที่นี่ขอให้ต้นลำเจียก อย่าได้ออกดอกอีกเลย หลังจากนั้นพระนางก็ถูกนำสู่นครทางทิศตะวันตก ไปทางบ้านศรีจรูก พักทัพและฆ่าหมูกินที่นั่น (ซี จรูกแปลว่ากินหมู) ทัพหลังตามไปทันที่บ้านทัพทัน (ซึ่งกลายเป็นชื่อบ้านในปัจจุบัน) และเดินทางต่อมายังบ้านลำดวน พักนอนที่นั่น มีการเลี้ยงฉลองรำไปล้มไป รำล้มในภาษาเขมรคือ เรือ็ม ดูล ซึ่งเป็นชื่อของ อ.ลำดวนในปัจจุบัน
ดังนั้นคำว่าภูมิโปน จึงมีความหมายโดยรวมว่า หมู่บ้านแห่งการหลบซ่อน (ภูมิ แปลว่า หมู่บ้าน โปน แปลว่า หลบซ่อน อีกความหมายหนึ่งแปลว่า มะกอก)

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สุรินทร์ ปี60 : ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย หรือ ปราสาทบ้านจารย์

ประเภท ► ปราสาท
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ►
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2283 สังขะ อำเภอ สังขะ สุรินทร์

วีดีโอ



รูป


ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย หรือปราสาทบ้านจารย์ มีลักษณะเป็นปราสาทองค์เดียวหลังค่อนข้างใหญ่ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมสิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูง ปัจจุบันหักพัง หลังคาทลายลงมาเหลือผนังบางส่วนและกรอบประตูด้านทิศตะวันออก สิ่งสำคัญของปราสาทหลังนี้คือ ทับหลังที่พบบริเวณด้านหน้า มีขนาดใหญ่กว่าที่พบทั่วไป คือ ขนาดยาว 2.70 เมตร สูง 1.10 เมตร และหนา 0.85 เมตร ตรงกลางสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่าร่ายรำ พนมมือประกอบ แนวทับหลังตอนบนป็นภาพเทพพนมในซุ้มเรือนแก้ว 10 ซุ้ม เรียงกัน นอกจากนี้ ยังพบเสาประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยม จำหลักรูปฤษีนั่งอยู่ภายในซุ้มบริเวณโคนเสาด้วย

สุรินทร์ ปี60 : ปราสาทบ้านพลวง

ประเภท ► ปราสาท
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► 10บาท
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล บ้านพลวง อำเภอ ปราสาท สุรินทร์ 

วีดีโอ 



รูป


เป็นปราสาทปรางเดียว 
ปราสาทบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นศาสนสถานขนาดเล็ก หรือสรุก จำนวน 1 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างตามแบบศิลปะแบบบาปวนสร้างด้วยหินทรายสีขาวบนฐานศิลาแลง ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู องค์ปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร ฐานศิลาแลงมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ 8 x 23 เมตร สันนิษฐานกันว่า ด้วยฐานศิลาแลงขนาดใหญ่เพียงนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีความตั้งใจสร้างให้มีปราสาท 3 องค์ บนฐานเดียวกัน แต่คงมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น สงคราม โรคระบาด ความแห้งแล้ง จึงส่งผลให้การสร้างปราสาทชะงักไป
ปราสาทมีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว อีกทางด้านเป็นประตูหลอก ทับหลังด้านตะวันออกและด้านใต้สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังด้านทิศเหนือสลักเป็นภาพพระศิวะปราบนาคกาลิยะ ส่วนทับหลังด้านตะวันตกยังไม่ได้สลักภาพใดๆ
ปราสาทบ้านพลวงเป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่เสร็จ สังเกตได้จากภาพแกะสลักยังไม่เสร็จ โดยภาพส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของเทพปกรณัมในลัทธิไศวะนิกาย แต่มีการสลักภาพสัตว์ เช่น สลักภาพกระรอกกระแต และกวางป่าไว้เหนือใบระกาด้านต่อดอกพันธุ์พฤกษา ซึ่งไม่ปรากฏในปราสาทแห่งใด
ปราสาทบ้านพลวง ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2514 - 2516 ด้วยวิธีอนัสติโลซีส คือการรื้อมาและประกอบเป็นจิกซอว์ขึ้นใหม่ เสริมโครงสร้างและรากฐานใหม่ หินส่วนไหนขาดก็เติมหินเข้าไปใหม่ให้สมบูรณ์ โดยไม่ขัดกับลวดลายและศิลปะเดิมของปราสาท โดยนายแวนส์ เรย์ ซิลเดรส นักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สุรินทร์ ปี60 : ปราสาททนง

ประเภท ► ปราสาท
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล ปราสาททนง อำเภอ ปราสาท สุรินทร์ 

วีดีโอ 



รูป

ปราสาท ตั้งอยู่ในโรงเรียน

สุรินทร์ ปี60 : เหมืองเก่า บริเวณโรงโม่หินมุ่งเจริญ

ประเภท ► เหมืองหิน
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► ควรไปตอนเช้า
ที่ตั้ง ► 
ตำบล นาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ สุรินทร์

วีดีโอ 



รูป

เป็นบริเวณเหมืองเก่า ใน อ.เมืองสุรินทร์
แถวๆ วนอยุธยานพนมสวาย
สามารถไปชมถ่ายรูปได้ ถนนไปอาจจะไม่ดีมากแต่สามารถ เดินทางไปได้

เส้นทางพนมสวาย - อ.ปราสาท