วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อุบลราชธานี ปี60 : วัดภูเขาแก้ว

ประเภท ► วัด
แผนที่การเดินทาง ► คลิกดู
ค่าเข้าชม ► ฟรี
เวลา ► 07.00น - 18.00น
ที่ตั้ง ► 
ตำบล พิบูล อำเภอ พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี

วีดีโอ



ภาพ



วัดภูเขาแก้ว
อยู่บนเนินเขา ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง เป็นรูปแบบศิลปะไทยหลังคาเป็นโครงสร้างไม่มีมุขลดหลั่นกันสี่ชั้นด้านหน้าและด้านหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ โดยมีคันทวยรองรับชายคาเป็นรูปนาคโดยรอบ ส่วนบริเวณกลางหลังคาตกแต่งเป็นยอดปราสาททอง หน้าบันจำหลักปูนปั้นลายก้านขดงดงามอ่อนช้อยกลมกลืนกับบัวเสาที่ทำตามแบบศิลปะอินเดีย ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือบานประตูและหน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทยพร้อมทั้งเล่าเรื่องราวประวัติของพระธาตุแต่ละองค์โดยสังเขป นอกจากนี้บริเวณชั้นล่างของพระอุโบสถยังใช้เป็นศาลาการเปรียญอีกด้วย
ปีพ.ศ. 2502-2505 วัดภูเขาแก้ว ได้เกิดพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งวัดขึ้น โดนเอกชนจะผนวกเอาที่ดินวัดบางส่วนนั้นไปขาย เพราะถือว่าวัดไม่ได้แจ้งกรรมสิทธิ์ ครอบครอง คือไม่มีใบ สค.1
และนส.3 ปี พ.ศ.2506 พระเพชร์ สุภโร เจ้าอาวาสได้ถึงมรณภาพ พระครูพิบูลสมณกิจ เจ้าคณะอำเภอธรรมยุตได้รักษาการแทน  และได้ดำเนินการขอโฉนดที่ดินวัด  ในปี พ.ศ.2514 สำนักงานที่ดินจังหวัดได้ออกโฉนดให้เป็นที่เรียบร้อย
ข้อมูลทั่วไป
อยู่บนเนินเขาในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ตามทางหลวงหมายเลข 217 ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กม. ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กม. ภายในวัดมีพระอุโบสถสวยงาม ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ภายในพระอุโบสถจะตกแต่งด้วย ภาพนูนสูงอยู่เหนือ บานประตูและ หน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่องราวและภาพจำลองเกี่ยวกับพระธาตุที่สำคัญของประเทศไทย
พระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องทั้งหลัง ความงามของอุโบสถ ได้ถูกถ่ายทอดจากฝีมือของช่างพื้นบ้าน โดยการออกแบบของเจ้าอาวาส
วัดภูเขาแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2480 วันที่ 3  ธันวาคม พ.ศ.2516 เวลา 22.15 น. ศาลาการเปรียญที่พระอาจารย์ดี ฉนโน ได้ก่อสร้างด้วยไม้ตะเคียน 2 ชั้น "ได้ถูกวางเพลิงมอดไหม้" เป็นเหตุให้มีการสร้างอุโบสถศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้นแทน  สำหรับให้พระสงฆ์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน
พระอุโบสถ ที่ทำหลังคาเป็นโครงสร้างไม่มีมุข ลดหลั่นกันสี่ชั้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ โดยมีคันทวยรองรับชายคา เป็นรูปนาคอยู่โดยรอบ
ส่วนบริเวณกลางหลังคา ตกแต่งเป็นยอดปราสาททอง หน้าบันจำหลักลายปูนปั้นลายก้านขดที่ยังคงความอ่อนช้อย และเข้ากันได้ดีกับบัวเสาที่ทำตามศิลปะอินเดีย ในขณะที่ส่วนล่างของบัว
หัวเสาลงมาตกแต่งแบบศิลปะขอมนอกจากนี้ บริเวณชั้นล่างของพระอุโบสถ ยังใช้เป็นศาลาการเปรียญ และนั่งปฏิบัติธรรม โดยรอบอาคารชั้นล่างจัดทำเป็นโต๊ะตั้งเครื่องปั้นดินเผา
และภายในวัดภูเขาแก้ว ยังมีการจัดต้นไม้ ดอกไม้อย่างสวย และยังมีแพ สำหรับให้นักท่องเที่ยว หรือลูกศิษย์ที่มีจิตศรัทธา ได้ทำบุญโดยการ ให้อาหารปลา อยู่กลางสระน้ำสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าชื่นชม น่าเก็บภาพสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากบรรยากาศภายในวัดร่มรื่น สะดวกสะบาย มีห้องน้ำสะอาด และยังมีร่มไม้ให้นั่งพักผ่อน ตามสะดวก
ฤดูกาลท่องเที่ยว    เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
การเดินทาง   
ถ้าเดินทางโดยรถยนย์   วัดภูเขาแก้วตั้งอยู่อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 44 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร ประมาณ 1 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217ถ้าเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง  จากตัวเมืองอุบลฯ ก็ขึ้นรถประจำทาง สาย พิบูลมังสาหาร-อุบลราชธานี ที่ บขส.อุบลราชธานีได้เลย ก่อนถึงตัวอำเภอ ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางด้านฝั่งซ้ายมือ 
สถานที่ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม    วัดภูเขาแก้ว ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  34110

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น